เพราะดีคับ

ข่าวในการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี

เดลินิวส์

                เมื่อวันเสาร์ที่ ๕ เดือน ๕ ปี ๒๕๕๕ ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการจัดงาน ได้จัดพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกแผ่นเงิน, ทอง, นาก และชนวนมวลสาร ณ วิหารพุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยพระเกจิคณาจารย์ ๙ รูป ประกอบด้วย พระธรรมปริยัติเวที วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม, หลวงปู่แคล้ว วัดดอนเมือง กรุงเทพฯ, หลวงพ่อแย้ม วัดไร่ขิง จ.นครปฐม, พระมหาเฉลา วัดราชคฤห์ กรุงเทพฯ, พระรัตนมงคลโมลี วัดธาตุทอง กรุงเทพฯ, พระครูชัยศรี วัดตุ๊กตา จ.นครปฐม, ครูบาหลวงปู่เสาร์ สำนักสงฆ์อำเภอแม่แตง จ.เชียงใหม่, พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร วัดกุศลสมาคร และองอนันตสรนาท วัดอุทัยภาติการาม (ซำปอกง) จ.ฉะเชิงเทรา

ต่อมาในวันเสาร์ที่ ๒๖ พ.ค. ๒๕๕๕ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จประกอบพิธีเททอง พระพุทธชยันตี (ปางสมาธิ) ณ  มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยมีพระเกจิคณาจารย์นั่งอธิษฐานจิตอีก ๑๑ รูป ได้แก่ หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์, หลวงปู่บัว วัดเกาะตะเคียน, หลวงพ่อแถม วัดช้างเทกระจาด, หลวงพ่อสิน วัดระหารใหญ่, หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว, หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง, หลวงพ่อหวัน วัดคลองคูณ, หลวงพ่อสวาท วัดอ่าวหมู, หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม,หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน และหลวงพ่อเอนก วัดนาหนอง

ไทยรัฐ

                       โครงการอุปสมบทหมู่ ปฏิบัติธรรมและจาริกแสวงบุญสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดียและประเทศเนปาล เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองพุทธชยันตี แห่งการตรัสรู้ปีที่ 2600 นี้เป็นของสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.)
                       สปร. ในฐานะหน่วยงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ความสำคัญกับการนำคำสอนทาง ศาสนามาใช้ในการพัฒนาคน ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่าน สปร.ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนทั่วไปที่เป็นชาวพุทธไปเดินทางตามเส้นทางพุทธตรัสรู้ด้วย การยึดถือแนวทางการปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมในดินแดนพุทธภูมิ โดยเน้นการปฏิบัติบูชา
                       ด้วยการจัดกิจกรรม บรรพชาอุปสมบท ปฏิบัติธรรม และจาริกแสวงบุญไปตามสังเวชนียสถานที่สำคัญในแต่ละแห่ง ซึ่งได้เน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิภาวนา สวดมนต์ บริจาคทานและรักษาศีลให้บริสุทธิ์ในสถานที่ที่ก่อกำเนิดพุทธศาสนาปี นี้ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม -8 พฤศจิกายน 2555 มีการบรรพชาอุปสมบทหมู่ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย ณ โคนต้นศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้และพระอุโบสถวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย กำหนดจำนวนคนอุปสมบท 30 คน ผู้ร่วมปฏิบัติธรรม 20 คน
สุภาพสตรีสามารถเข้าร่วมโครงการได้ โดยการไปปฏิบัติธรรมรักษาศีล 8 และจาริกแสวงบุญเช่นเดียวกับบุรุษที่บรรพชาอุปสมบทเป็น การเดินทางไปปฏิบัติในดินแดนพุทธภูมิจำนวน 10 วัน 9 คืน ณ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่ปรินิพพาน สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในประเทศอินเดีย และประเทศเนปาลโดยจำวัดและปฏิบัติธรรมในวัดป่าพุทธคยา วัดไทยสิริราชคฤห์ วัดไทยไวศาลี วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ วัดไทยลุมพินีและวัดไทยสารนารถข้า ราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงานของรัฐ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพนักงานรัฐวิสาหกิจสามารถลาอุปสมบท ได้ตามเงื่อนไขของหน่วยงานต้นสังกัด ทั้งนี้ ผู้เดินทางเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายเองจำนวน 60,000 บาท
หน่วยงานรับผิด ชอบด้านการดำเนินการคือสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) โทรศัพท์ 0-2527-8700-1, 08-6340-2257 เว็บไซต์ http://www.tia.or.th
ลักษณะ งานที่คล้ายคลึงกันอีกหน่วยหนึ่งคือ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ได้รับแจ้งจาก นายสุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบัน โพธิคยาวิชชาลัย 980 ว่าได้จัดโครงการส่งเสริมพระสงฆ์ไทยไปศึกษาและปฏิบัติธรรมเชิงลึก ณ แดนพุทธภูมิ สาธารณรัฐอินเดีย มาแล้วอย่างต่อเนื่อง โดยมีความมุ่งมั่นทำงานเพื่อสนับสนุนให้พระสงฆ์ได้ไปศึกษาและปฏิบัติธรรม เชิงลึก ณ แดนพุทธภูมิ โดยจัดต่อเนื่องมาขึ้นปีนี้เป็นที่ 4 แล้ว
บัดนี้โครงการส่งเสริมพระสงฆ์ไทยไปศึกษาและปฏิบัติเชิงลึก ณ แดนพุทธภูมิ รุ่นที่ 3 ได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
ทางสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ได้สรุปออกมาเป็นหนังสือบทความวิชาการเรื่อง “ธรรมวิชัย 2 จากแดนพุทธภูมิ” เพื่ออนุโมทนาบุญร่วมกัน.

การเฉลิมฉลองพุทธชยันตี :)

    การเฉลิมฉลองพุทธชยันตี

          การเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี ไม่ควรหยุดอยู่แค่งานพิธีเชิงสัญลักษณ์ แต่เป็นโอกาสที่ทุกคนที่สนใจหรือแม้แต่สงสัยในพุทธศาสนาจะได้หาความรู้อย่าง จริงจัง เข้าให้ถึง เพื่อทำความเข้าใจว่า เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเป็นสัตบุรุษ หรือองค์ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่สืบต่อมาจนทุกวันนี้ พุทธศาสนิกชนสมควรต้องตระหนักรู้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้หนทางการแก้ปัญหาทุกข์ที่ยั่งยืนให้ตรงกับเหตุ ด้วยเหตุผลและปัญญาและการกระทำที่พึ่งตนเองที่เรียกว่า “อริยสัจ 4” คือ 1.กำหนดทุกข์ปัญหาให้ถูกต้องตามเป็นจริง 2.สมุทัย…หาสาเหตุของการเกิดทุกข์ให้ถูกต้องตามเป็นจริง 3.นิโรธ ..พิจารณาเหตุผลถึงการจะทำให้ทุกข์นั้นหมดไป 4.มรรค ..กำหนดหนทางปฏิบัติด้วยการพึ่งตนเอง และทรงชี้หนทางสายกลางของการสร้างสุขที่ถูกต้องด้วยตนเอง อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งก็คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
    ร่วมเฉลิมฉลองพุทธชยันตีปีที่ 2,600 ด้วยการลงมือประพฤติปฏิบัติ นำพระธรรมคำสั่งสอน หรือสิ่งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตตนเอง น่าจะเป็นการเข้าถึงเข้าใจในแก่นแท้ที่พระพุทธเจ้าทรงปรารถนาอยากเห็นพุทธ ศาสนิกชนเดินตาม โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่สังคมมีแต่ความขัดแย้งทางความคิด มีปัจจัยก่อให้เกิดความทุกข์ และความระแวงสงสัย เพราะความซับซ้อนของกลุ่มผู้มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมือง ตลอดจนการมีวาระซ่อนเร้นอิงผลประโยชน์ส่วนตนมากมายโดยใช้ปัญญาอย่างขาดสติ และขาดจริยธรรมนั้น ยิ่งเป็นโอกาสที่ต้องช่วยกันกระตุ้นเตือนถึงการใช้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า หาทางออกหรือบทสรุปก่อนที่จะคิดตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง 

การปฏิบัติตนในการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี

การปฏิบัติตนของประชาชน

นอกจากนี้ทางเครือข่ายพุทธชยันตี สังฆะเพื่อสังคม ยังได้ประสานกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อประสานงานขอความเมตตาจากมหาเถรสมาคมให้พิจารณาแนวทางการเฉลิมฉลอง ปฏิบัติบูชาในหมู่ประชาชนเนื่องในธัมมาภิสมัยพุทธชยันตีนี้ จนสำเร็จเป็น มติมหาเถรสมาคม ที่ ๑๓/๒๕๕๔ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ สรุปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ 3 ประการ ดังนี้

(๑) สื่อสารวันพระให้เป็นวันแห่งสติ

คิดค้นวิธีการสื่อสารความดี ให้คนได้ระลึกถึงวันพระในทุกๆ วันพระ เพื่อสร้างให้ชาวพุทธเกิดการเรียนรู้โดยรวมทั้งสังคมไทย ให้เกิดความตระหนักและรู้ในทุกวันพระ ทำให้วันพระเป็นวันแห่งสติของสังคมไทย เดือนละ ๔ ครั้ง หรือ ปีละประมาณ ๕๐ ครั้ง

(๒) ครอบครัวทำบุญร่วมกันทุกสัปดาห์ (ฟื้นวิถีบุพเพสันนิวาส-เติมบุญให้ครอบครัว)

มีกิจกรรมในระดับครอบครัวของตนเองหรือระดับส่วนบุคคล ที่ทำให้ได้ทำบุญ

หรือเรียนรู้ธรรมะร่วมกัน หรือเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ทุกวันเสาร์ ทุกวันอาทิตย์ หรือทุกวันพระ ตามความสะดวกและเหมาะสม ประมาณปีละ ๕๐ ครั้ง

(๓) ทำบุญใหญ่ร่วมกันทุกวันเพ็ญ

มีกิจกรรมการแสดงออกร่วมกัน ถึงการทำบุญกุศลครั้งใหญ่ ละบาปอกุศลความชั่วครั้งใหญ่ ในระดับหมู่ของครอบครัว ชุมชน หรือหน่วยงานองค์กรของตนเอง ในทุกๆ วันพระที่เป็นวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนละ ๑ ครั้ง หรือ ปีละ ๑๒ ครั้ง

วันวิสาขบูชา ที่เกี่ยวข้องกับ พุทธชยันตี

วันวิสาขบูชา

             เป็น “วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล” ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่ง เดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า “วิสาขบูชา” ย่อมาจาก”วิสาขปูรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ” อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของ ไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทิน จันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบาง นิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท

วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ” ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียใน ปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียใน ปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจน ปัจจุบัน

ประวัติ พุทธยันตี

 

คำว่า สัมพุทธชยันตี หรือ พุทธชยันตี สันนิษฐานว่าเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ในประเทศศรีลังกา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยดำริของ ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านได้ดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันบูรณะลุมพินีวัน ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ให้เป็นพุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก โดยเรียกว่า การฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ (2500th Buddha Jayanti Celebration) โดยนำคำ Buddha Jayanti (बुद्ध जयंती) ซึ่งเป็นคำเรียกวันครบรอบของชาวอินเดียและเนปาลมาใช้ เพื่อให้เกียรติประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของพุทธสังเวชนียสถาน และมีการรณรงค์ให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่าง ๆ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในปีนั้น เช่น ประเทศ พม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษในครั้งนั้น ในประเทศอินเดีย ได้มีการจัดกิจกรรมฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยการนำของ ดร.บี.อาร์.อามเพฑกร นำชาวอินเดียประมาณ 2 แสนคนปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ การสร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลีเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับวาระ นี้ และนอกจากนี้ ฯพณฯ ชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ยังได้เชิญชวนให้ประเทศพุทธศาสนาทั่วโลกมาสร้างวัดไว้ในดินแดนพุทธอุบัติภูมิอีกด้วย

ในประเทศพม่า ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างปาสาณคูหาเพื่อการทำฉัฏฐสังคีติสังคายนาพระไตรปิฎก สำหรับในประเทศศรีลังกา ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลอง เพื่อเป็นการประกาศศักยภาพของประเทศศรีลังกาหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 ด้วย

โดยในส่วนของประเทศไทย ในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ได้มีการฉลองเนื่องในโอกาสพุทธชยันตีนี้ด้วย โดยจัดเป็นงานฉลองทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย มีการจัดสร้างพุทธมณฑล การประกาศให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ[ มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมพระราชบัญญัติล้างมลทินมีการออกประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานบริเวณสนามหลวงเป็นสังฆปริมณฑลสำหรับจัดงานฉลองในครั้งนี้เป็นการชั่วคราวด้วยนอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เป็นกรณีพิเศษด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทยที่รัฐบาลมีการออกเหรียญที่ระลึก และแพรแถบ เนื่องในโอกาสสำคัญทางศาสนา อย่างไรก็ดี การจัดงานครั้งนั้นในประเทศไทย ได้ใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” ทำให้คำว่า “พุทธชยันตี” ไม่แพร่หลายในประเทศไทยเหมือนประเทศอื่น ๆ

 

 

พุทธชยันตี

พุทธชยันตี หรือ สัมพุทธชยันตี  

เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ  ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธศาสนา หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้

โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุท

ธเจ้า เช่น ครบรอบ 2500 ปี แห่งปรินิพพาน หรือ 2600 ปี[3] แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่น เอง

พุทธชยันตี เป็นคำที่ใช้ทั่วไปในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า และผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ บางประเทศ โดยใช้คำนี้ในการจัดกิจกรรมวิสาขบูชา โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปีนั้น เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชานั่นเอง

 รูปภาพจาก www. matichon.co.th

ต้นมะขาม นายสุวโรจน์ บุญคำ

ประเภทคอมพิวร์เตอร์ที่ผมคิดว่าที่สุดน่ะคับ

                        คอมพิวร์เตอร์ที่ผมคิดว่าดีที่สุดคือ  โน๊ตบุ๊คคับ  เพราะว่าโน๊ตบุ๊คเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้คับ  และ โน๊ตบุ๊ค มีกระบวนการทำงานที่สูงและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สมบูรณ์ โน๊ตบุ๊คมีลักษณะคล้ายหนังสือเล่มไหญ่ ทรง 4 เหลี่ยม  สามารถเก็บเข้ากระเป๋าได้ง่าย โดยที่เราไม่ต้องนำสิ่งใดไปมาก และสามารถทำงานไหนสถานที่ๆใดก็ได้คับ      

          ดูรูปกันค้าบว่าเป็ฯยังไง  โน๊ตบุ๊คอันนี้เป็นของ apple น่ะคับ 

                         

 

                   ที่มาของภาพ  http://www.se-ed.com/Technology/ViewContent.aspx?IDtopic=725

                                                            เล็กและบางไช่มั้ยค้าบบบบบบบบบบบบบ

ส่วนประกอบของคอมพิร์เตอร์ ที่ทำไห้คอมพิวเตอร์ทำงนได้

Main Board หรือ Mother Board

      
            เมนบอร์ด (mainboard) หรือ มาเธอร์บอร์ด (motherboard) เป็นแผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ จะเชื่อม ต่อหรือติดตั้งบน Mother Board นี้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น CPU, Harddrive, VGA Card เป็นต้น
   สำหรับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง, ไบออส และหน่วยความจำหลักพร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆได้ทั้งอุปกรณ์เสริมภายในและอุปกรณ์เสริมเชื่อมต่อจากภายนอก
                                                                                       
            ที่มาของภาพ http://information-technology4.blogspot.com/2010/09/blog-post_11.html
  

                      

Main Memory : RAM      

           

              เป็นหน่วยความจำหลักของระบบ ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูล หรือ โปรแกรมชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการ ประมวลผล Main Memory (RAM) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีด้วยกัน หลายประเภท ได้แก่

                                                                 

                                ที่มาของภาพ     http://pirun.ku.ac.th/~b4904281/page2.html

                             Display Card : Vga Card , Pci Card     

           
            เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลภาพออกทางจอภาพ
ซึ่งปัจจุบันจะ สนับสนุนการทำงานทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ และจะเน้นหนักไปที่การเล่นเกมเป็นหลัก บริษัทผู้ผลิตการ์ดแสดงผล ที่รู้จักกันดีได้แก่ Matrox, Ati, Nvidia, 3DLab และปัจจุบันการ์ดแสดงผลจะมีบทบาทมาก เนื่องจากมีการนำงานการคำนวณที่เกี่ยวกับการแสดงภาพมาคำนวณ ที่การ์ดแสดงผลแทนที่จะต้องคำนวณด้วย CPU จึงมีการเรียก Card
                                                                     
 

                                ที่มาของภาพ      http://pirun.ku.ac.th/~b4904281/page2.html        

                                         Rom Drive : Cd Rom , Dvd Rom
       
            

            ปัจจุบัน CDROM DRIVE เป็นอุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ต้องมีเนื่องจากปัจจุบัน Software มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถบรรจุ ลงบนแผ่น Floppy Disk ได้อีกต่อไป เทคโนลียีของ CDROM มี อยู่ 2 แบบ คือ
    – การหมุนด้วยความ เร็วคงที่
    – การหมุนด้วยความเร็ว ไม่คงที่

                                                                        

               ที่มาของภาพ http://repaircomtips.blogspot.com/2010/08/blog-post_2084.html

                                  Hard drive : Hard disk
       
           

             เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูล หรือ Software ที่เราต้องการ เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Harddrive(Harddisk) ปัจจุบันมี มาตรฐานการเชื่อมต่อหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือ ATA(IDE) และ SISC (สกัสซี่) ซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Sec ส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ

                                                                           

                                         ที่มาของภาพ http://www.thaigoodview.com/node/31538
                                                        

             modem    

         เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ Analog ไปเป็น สัญญาณ Digital และ จาก Digital ไปเป็นสัญญาณ Analog ซึ่งใน คอมพิวเตอร์นั้นจะมีลักษณะสัญญาณเป็นแบบ Digital ดังนั้นจึงต้อง ใช้ Modem ในการแปลงสัญญาณเพื่อที่จะสามารถส่งสัญญาณไปบน สายโทรศัพท์ ธรรมดาได้ วัตถุประสงค์ของ Modem คือใช้ในการ เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะทางไกล ๆ

                                                               

                      ที่มาของภาพ     http://pirun.ku.ac.th/~b4904281/page2.html               

                                             Floppy Drive : Drive A
      
           

            เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและ ขียนแผ่น Floppy Disk ซึ่งมีความจุต่าง ๆ กันเช่น 360KB, 720KB, 1.2MB, 1.44MB, 2.88 MB ซึ่งมีขนาด 3.5″ และ 5.25″ นอกจาก Floppy Driveแล้วยังมี อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวอื่น ๆ เช่น Zip Drive,Jazz Drive, SuperDrive และล้าสุดกับ Trump Drive ซึ่งสามารถนำไปต่อกับ Port USB เพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ทันที

                                                                   

                                ที่มาของภาพ   http://pirun.ku.ac.th/~b4904281/page2.html                     

                                                   Power Supply
      
           

                  Power Supply เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมี Power Supply อยู่ 3 แบบ คือ แบบ AT, ATX, และ Power Supply ที่ออกแบบให้ใช้กับ Mother Board สำหรับ Pentium IV แต่ละแบบจะมีกำลังที่ต่างกัน ตั้งแต่ 200 Watt ขึ้นไป ปัจจุบันกำลังไฟที่ใช้จะอยู่ประมาณ 300 Watt

                                                                             

                           ที่มาของภาพ    http://pirun.ku.ac.th/~b4904281/page2.html                                

                                                              CPU Fan
      
           

            พัดลม CPU นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเลือกให้ดีเพราะเนื่องจากCPU มีความร้อนสูงการเลือกพัดลมที่ไม่เหมาะกับการ CPU อาจเกิด ความเสียหายต่อ CPU หรือทำให้ระบบคอมฯไม่มีเสถียรภาพ

                                                                                           

                               ที่มาของภาพ http://pirun.ku.ac.th/~b4904281/page2.html